อาการ ขี้ลืม สาเหตุเกิดจากอะไร? แก้ไขได้อย่างไรบ้าง?

อ่านเมื่อ: 2 นาทีที่แล้ว

ขี้ลืม เป็นอาการทั่วไปที่ พบได้ในคนทุกช่วงวัย แต่หากเกิดขึ้นบ่อย อาจทำให้หงุดหงิดรำคาญใจได้ ส่วนใหญ่แล้ว อาการขี้หลงขี้ลืม อาจไม่ใช่อาการของโรคทางสมองเสมอไป บางครั้งสามารถเกิดได้จากสาเหตุทั่วไป ที่หลายคนอาจไม่รู้  บทความนี้ เราจะพาทุกคน ไปรู้จักกับ อาการขี้ลืม และวิธีรับมือกัน

สาเหตุของอาการ ขี้หลง ขี้ลืม มีอะไรบ้าง?

การใช้ชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมมากมาย ที่เราต้องเผชิญ บางครั้งนั้น เราอาจหลงลืม บางสิ่ง บางอย่าง ที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น ลืมกุญแจบ้าน ลืมโทรศัพท์ ลืมของ เป็นต้น อาการเหล่านี้ อาจดูไม่มีอะไรผิดปกติ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจเป็นความเสี่ยงของอาการ “ขี้ลืม” ซึ่งเป็นสัญญาณของ โรคอัลไซเมอร์ มีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

1) พักผ่อนไม่เพียงพอพาขี้หลงขี้ลืม

หากพักผ่อนไม่เพียงพอ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองทำงานหนักต่อเนื่อง จนเกิดความเหนื่อยล้า ส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย รวมถึงเกิดอาการขี้ลืมได้ หากเกิดจากการนอนไม่หลับต่อเนื่องหลายวัน อาจจะต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจ และรับคำปรึกษาปัญหาด้านการนอนหลับ

2) สภาวะความเครียดสมองทำงานหนัก

ไม่ใช่เพียงแค่ความเครียดเท่านั้น ความรู้สึกด้านลบ ที่ส่งผลต่อความรู้สึก เช่น ความกังวล อารมณ์เศร้า เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อความทรงจำเช่นกัน เนื่องจาก เมื่อเราตกอยู่ในสภาวะเหล่านี้ จะทำให้สมอง หลั่งสารสื่อประสาทมากกว่าปกติ มีผลให้เกิดปัญหา ด้านความจำ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย

3) การดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มทุกวัน จะส่งผลกระทบต่อสมอง ในส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความทรงจำ การทำงานของสมองในส่วนนี้ จะลดลง ทำให้เกิดอาการหลงลืม ในระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์  ทำให้บางคนจำไม่ได้ว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาดังกล่าวนั่นเอง

4) การเปลี่ยนแปลงของร่างกายยากจะหลีกเลี่ยง

เป็นสาเหตุที่ยากจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะ อายุที่มากขึ้น ในวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ความจำ อาจมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะป้องกันได้ยาก แต่การดูแลตนเอง ให้เหมาะสมตามช่วงวัย จะสามารถช่วยรักษาสภาพของร่างกายให้เสื่อมช้าลงได้ เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

5) โรคบางชนิดและยา ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึง

โรคบางโรค สามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองในทางอ้อม เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง จะส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ และสามารถส่งผลต่อความทรงจำ นอกจากนี้ การรักษาโรคด้วยยาบางชนิด ยังมีผลข้างเคียงกับการทำงานของสมอง เช่น ยาระงับประสาท หรือยาลดไขมันในเลือด เป็นต้น

วิธีแก้อาการขี้หลงขี้ลืม ทำได้อย่างไร?

1) นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสมอง และร่างกาย ที่ใช้ช่วงเวลาขณะหลับในการบำรุงซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ให้ดีขึ้น เพื่อให้ร่างกายมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน ดังนั้น การนอนหลับที่เพียงพอ จึงมีความสำคัญ ต่อกระบวนการทำงาน ของระบบจดจำ สมองจะซึมซับเรื่องราว เหตุการณ์ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วเรียกขึ้นมาประมวลซ้ำ ๆ ในระหว่างที่เรานอนหลับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเป็นความจำระยะสั้น ก่อนที่จะพัฒนาเป็นความจำระยะยาว แต่ถ้าหากนอนหลับไม่เพียงพอ สมองของคุณ ก็จะไม่ได้พัก หากคุณนอนหลับไม่พออยู่บ่อย ๆ สมองก็จะลืมสิ่งที่เคยทำ หรือสิ่งที่คิดว่ากำลังจะทำนั่นเอง ดังนั้นควรจะหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อจะช่วยให้คุณมีสมาธิได้ดีขึ้น และยังช่วยเพิ่มความจำให้กับคุณอีกด้วย

2) จดบันทึก

มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Indiana ในปี 2010 ได้กล่าวไว้ว่า สมองจะจดจำได้ดีขึ้นหากใช้การจดบันทึก และการจดบันทึก คือ วิธีที่ดีที่สุดในการเตือนความจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ต้องทำในแต่ละวัน  เรื่องงาน เรื่องการประชุม การนัดหมาย เป็นต้น แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าขี้เกียจจะจด คุณก็สามารถพิมพ์ Notes ใส่ในโทรศัพท์มือถือก็ได้เช่นกัน

3) เรียงลำดับความสำคัญ

ลองเรียงลำดับความสำคัญก่อน-หลัง โดยการแยกสิ่งที่ต้องทำออกมาเป็นข้อ ๆ เพื่อที่จะให้เราจำได้ง่าย และสามารถทำงานเป็นขั้นเป็นตอนได้ การเรียงลำดับความสำคัญ จะทำให้คุณจดจำสิ่ง ๆ ต่างได้ง่ายกว่าการทำหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน

4) แปะ Post it ไว้ตามจุดต่าง ๆ

การเขียนแปะโพสอิทไว้ตามจุดต่าง ๆ จะคล้าย ๆ การจดบันทึก แต่การใช้โพสอิทนั้น จะใช้ง่ายกว่า สามารถเขียนเป็นประโยคสั้น ๆ จะวาดรูป หรือจะทำอะไรก็ได้ เพื่อเตือนความจำของคุณให้คิดออก ข้อความที่เขียนเตือนความจำนั้น จะมีความสั้น และกระชับกว่าการจดบันทึก คุณสามารถเขียนแล้วแปะไว้ในสถานที่ที่เราต้องผ่านบ่อย ๆ เพื่อเตือนความจำได้ เช่น กระจกที่โต๊ะเครื่องแป้ง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ ตู้เย็น หรือแปะไว้ที่ประตู ก็ได้เช่นกัน

5) การอัดเสียง

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้อาการขี้ลืมของเรานั้นหายไป  เพราะการอัดเสียงลงบนโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องอัดเสียง จะสามารถช่วยคุณจำทุกอย่างได้ อัดเสียงจากการประชุม คุยเรื่องสำคัญ ที่อาจจะยาว จับใจความสำคัญไม่ทัน แล้วค่อยมาเปิดฟังทีหลัง จะช่วยคุณได้มากเลยทีเดียว หรือจะใช้อัดเสียงตัวเอง เพื่อเตือนเรื่องทั่ว ๆ ไปก็ได้เช่นกัน 

การรู้ถึงสาเหตุ และพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุของอาการ ขี้ลืม อาจช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาด้านความจำชั่วคราว สามารถหลีกเลี่ยง และลดความเสี่ยงได้มากขึ้นนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความทรงจำดังที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยลดการเกิด อาการขี้หลงขี้ลืมได้ บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกันเหมือนเดิมนะจ๊ะ

สามารถอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่นี่

109menu.com ศูนย์รวมป้ายโฆษณา หลากหลายประเภท กับการบริการที่หลากหลาย ด้านการตลาด และโฆษณา “บริการครบ จบในที่เดียว” สามารถสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.109menu.com

อ้างอิงข้อมูลจาก petcharavejhospital.com, innnews.co.th