130223-Content-ออฟฟิศซินโดรม-01

ออฟฟิศซินโดรม อาการยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือน ป้องกันได้อย่างไร?

อ่านเมื่อ: 2 นาทีที่แล้ว

เชื่อเลยว่า พนักงานออฟฟิศหลาย ๆ คน คงเคยมีอาการ ออฟฟิศซินโดรม กันอย่างแน่นอน เรียกได้ว่า เป็นอาการยอดฮิตของหนุ่มสาว วัยทำงานเลยก็ว่าได้ อาการปวดต้นคอ บ่า ไหล่ หลัง หรือปวดร้าวศีรษะ สาเหตุมาจากการนั่งทำงานท่าเดิมนาน ๆ หรือนั่งไม่ถูกวิธี กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่มีการผ่อนคลาย ก็ทำให้มีอาการได้ แล้วอาการแบบนี้ สามารถป้องกันได้อย่างไร? ในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จักกับ ออฟฟิศซินโรม (office syndrome) และวิธีป้องกันให้มากขึ้นกัน ตามไปดูกันเลย

รู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม

Office syndrome คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ และเยื่อพังผืด ซึ่งมักเกิดจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำไปมา เป็นระยะเวลานาน และต่อเนื่อง จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ตลอดจนปวดเมื่อยตามอวัยวะส่วนอื่น ๆ ไล่ลงมาตั้งแต่ คอ หลัง บ่า ไหล่ แขน แม้กระทั่งบริเวณข้อมือก็ไม่เว้น หากผู้ที่พบว่า มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม แต่ไม่ทำการรักษาตัวในทันที อาการอาจทรุดหนักลง และลุกลามจนผู้ป่วยมีอาการปวดชนิดเรื้อรังได้

130223-Content-ออฟฟิศซินโดรม02

สาเหตุและอาการของออฟฟิศซินโดรม

มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศเป็นหลัก เพราะพฤติกรรมการทำงาน ที่ต้องนั่นจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานจนลืมตัว ไม่มีการขยับตัวปรับเปลี่ยนอิริยาบถใด ๆ หรือลุกขึ้นเดินไปไหนมาไหนเลย เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ เกิดอาการยึดเกร็ง และอักเสบในเวลาต่อมา อาการมีดังนี้

  • มีอาการปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้อย่างชัดเจน ตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ และสะบัก
  • มีอาการปวดวิงเวียนศีรษะเรื้อรัง หรือบางคน อาจมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากความเครียด และการใช้สายตาจดจ่อบนหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป เป็นระยะเวลานาน
  • มีอาการปวดหลัง เพราะต้องนั่งทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน ๆ หลายชั่วโมง และวิธีท่านั่ง ไม่ถูกสรีระ โดยผู้มีอาการ มักนั่งหลังค่อม ซึ่งส่งผลให้ กล้ามเนื้อต้นคอเมื่อยล้า และยึดเกร็งอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงยืนทำงานในออฟฟิศเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้มีอาการปวดหลัง จากโรคออฟฟิศซินโดรม ได้เช่นเดียวกัน
  • มีอาการปวด หรืออาการเหน็บชาบริเวณขาลงมา สาเหตุมาจาก การนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับ และการไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ
  • มีอาการตาล้าพร่ามัว เนื่องจากการใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
  • มีอาการมือชา นิ้วล็อค และปวดข้อมือ สาเหตุมาจากการจับเมาส์ในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณมือหรือนิ้วมืออักเสบได้ นอกจากนี้ ยังสามารถทำให้เกิดอาการมือชา จากภาวะพังผืดกดทับเส้นประสาทมีเดียนได้อีกด้วย

วิธีป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม

ปัจจุบัน การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถกระทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น การปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการรับประทานยารักษา หากอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์ชนิดพิเศษ การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี การฝังเข็มแบบสลายจุดปวด (Dry needing) การนวดแผนไทย และอื่น ๆ แต่ในเบื้องต้น เราสามารถดูแลตัวเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. ไม่ควรนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ

หากเริ่มรู้สึกปวดเมื่อย ควรพักการทำงาน เพื่อผ่อนคลายร่างกาย และสมอง โดยการลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศด้านนอกบ้าง ไม่ควรนั่งทำงานติดกันนาน ๆ เกินไป

2. นั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง

การนั่งทำงาน ไม่ควรนั่งหลังค่อม หรือนั่งเอนหลัง อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดการล้า และเสียบุคลิก ควรจะนั่งหลังตรง จะช่วยลดอาการปวดหลัง และช่วยให้สุขภาพหมอนรองกระดูกดีขึ้น ป้องกันโรคข้อ บรรเทาอาการปวดศีรษะ ทำให้การไหลเวียนของออกซิเจนดี และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย

3. ไม่ควรเพ่งหน้าจอคอมนาน ๆ

ไม่ควรเพ่งจอคอมนาน หรือใกล้จนเกินไป ควรพักสายตาทุก ๆ 1 ชั่วโมง เพราะหากเราเพ่งสายตากับจอคอมนานเกินไป อาจส่งผลทำให้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อตา และปวดศีรษะได้

4. ปรับสภาพแวดล้อมที่ทำงานให้น่าอยู่

ห้องทำงาน ไม่ควรแออัดเกินไป ควรมีอากาศถ่ายเท ควรใช้โต๊ะ และเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระ สำหรับแสงไฟในห้อง ควรจะมีความเหมาะสม ไม่จ้า หรือสลัวเกินไป จะช่วยถนอมสายตาได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ ห้องทำงานควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มีแสงแดด หรือแสงสว่างจากภายนอกส่องเข้ามาในห้องโดยตรง เพราะแสงที่สว่างเกินไป จะก่อให้เกิดแสงสะท้อนที่จอได้ง่าย ทำให้รู้สึก ไม่สบายตาได้

5. ออกกำลังกายคือยาวิเศษ

การออกกำลังกาย จะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพ ของผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้เป็นอย่างดี ช่วยในเรื่องของการยืดเส้น และสร้างความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน นอกจากจะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อแล้ว ยังป้องกันเอ็น และข้อยึด ช่วยผ่อนคลายความเครียด และสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้อีกด้วย

6. รักษาด้วยการใช้ยา

สำหรับคนที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม เริ่มรุนแรงขึ้นแล้ว อาจต้องได้รับยาในการรักษา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อ และเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด โดยยาเหล่านี้ ควรผ่านการพิจารณา และสั่งโดยแพทย์ผู้วินิจฉัยเท่านั้น

7. รักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

เป็นการรักษาด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น Ultrasound เครื่องดึงคอ หรือการรักษาด้วยการฝังเข็มแบบตะวันตก และการสอนท่าบริหาร เพื่อการป้องกันและรักษา ในเคสที่เป็นมานานเรื้อรัง ยังมีการสอนหายใจ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

8. รักษาด้วย Shock Wave

คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง ในการใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดระยะเรื้อรัง ที่ผ่านการรักษาต่าง ๆ มาแล้วไม่ดีขึ้น เหมาะกับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม อาการปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดฝ่าเท้าเรื้อรัง โรครองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดเข่า บาดเจ็บจากกีฬา เป็นต้น


จบไปแล้วกับ สาเหตุ และวิธีป้องกัน การเกิดอาการ ออฟฟิศซินโดรม ที่เรานำมาแชร์กัน คงทำให้ผู้อ่านหลาย ๆ คน เข้าใจ และเริ่มตะหนักถึงผลกระทบของโรคนี้กันแล้ว อย่างไรก็ตาม เราสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ตามที่เราแนะนำ รับรองว่า อาการออฟฟิศซินโดรม ไม่มีเข้ามาให้กวนในแน่นอน

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ

109menu.com ศูนย์รวมป้ายโฆษณา หลากหลายประเภท กับการบริการที่หลากหลาย ด้านการตลาด และโฆษณา “บริการครบ จบในที่เดียว” สามารถสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.109menu.com

อ้างอิงข้อมูลจาก thainakarin.co.th, nakornthon.com