Burn out คือ พร้อมวิธีรับมือ ทำได้อย่างไร?

อ่านเมื่อ: < 1 minute

หลาย ๆ คน อาจกำลังตกอยู่ในสภาวะ Burn out หรือ ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน กันอยู่ใช่ไหม บทความนี้ 109menu จะพาไปรู้จักกับคำว่า Burn out คือ อะไร ? พร้อมวิธีรับมือ เมื่อตกอยู่ในสภาวะหมดไฟ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

Burn-out คืออะไร?

Burn-out คือ ภาวะหมดไฟ เป็นภาวะของ การอ่อนล้าทางอารมณ์ เป็นผลจากความเครียด จากงานที่มากเกินไป อย่างต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ผู้มีภาวะหมดไฟ มีความรู้สึกว่างานนั้น เกินกำลังที่จะทำได้ มีอารมณ์ร่วมกับงานลดลงมาก และไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในการทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี นาน ๆ เข้า ทำให้เสียแรงจูงใจ ในการทำงาน กระทั่งรู้สึกว่า ทำอะไรก็ไม่ได้ดี ความรู้สึกติดลบ เสียใจ และจบด้วย ความรู้สึกที่ว่า ไม่สามารถทำอะไรให้ใครได้นั่นเอง

โดยเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง ทางอารมณ์เรื้อรัง ต่องานที่แสดงอาการออกมาในรูปแบบอ่อนเพลีย หรือรู้สึกไม่มีอารมณ์ ที่จะตื่นไปทำงาน เกิดภาวะ Cynicism คือ ขาดความรู้สึกสนุกในการทำงาน ขาดแรงจูงใจในงานที่ทำ นั่นเอง


ภาวะหมดไฟ (Burn out) สามารถรู้ได้อย่างไร?

วิธีเช็คว่า คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่จะเกิดภาวะหมดไฟหรือไม่ เราสามารถสำรวจตัวเองได้ ดังต่อไปนี้

  1. รู้สึกว่างานหนัก งานเยอะ รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องมาทำในเวลาเร่งรีบ แบบไฟลนก้น
  2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ไม่มีสิทธิ์มีเสียง และมีปัญหา การเรียงลำดับความสำคัญของงาน
  3. ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอ ต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจไป แต่กลับไม่มีใครเห็นค่า
  4. รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน ทำตัวแปลกแยก หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
  5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ มั่นใจ และการเปิดใจยอมรับกัน
  6. ระบบบริหาร ในที่ทำงาน ที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง

รู้ไหม? Burn-out ไม่ใช่โรค

Burnout ภาวะหมดไฟในการทำงาน ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะผิดปกติ ที่เกิดจากการทำงาน ไม่ใช่ความผิดปกติใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นภาวะเปลี่ยนแปลง ทางด้านจิตใจ ที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน และไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งลักษณะอาการ ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือมีภาวะอ่อนเพลีย
  2. มีความรู้สึกต่อต้าน และมองงานของตนเองในทางลบ ขาดความรู้สึกในความตั้งใจ ที่จะประสบความสำเร็จ นั่นหมายถึง ไม่มีแรงจูงใจ ที่จะประสบความสำเร็จในงาน
  3. รู้สึกเหินห่างจากคนอื่น ไม่ว่าจะเป็น ผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพัน กับสถานที่ทำงาน

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะภาวะ Burnout ไม่ได้เป็นอาการของโรคซึมเศร้า แต่จะใช้เรียกเฉพาะอาการ ที่เกิดจากการทำงานเพียงอย่างเดียว ไม่นับรวมถึง การเปลี่ยนแปลง ทางด้านจิตใจที่เกิดจากเรื่องอื่น แต่ถ้าปล่อยไว้เรื้อรัง จะนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ และร่างกายหลายอย่าง เช่น มีภาวะนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่าย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าว เป็นสาเหตุ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ในอนาคต


ผลกระทบจาก Burn-out

  1. ทางด้านร่างกาย: อาจพบอาการ เหนื่อยล้าเรื้อรัง อารมณ์ดิ่ง รู้สึกเคว้งคว้าง หน้าหมอง เหมือนโดนทำคุณไสย ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ อาจมีอาการ office syndrome ร่วมด้วย
  2. ทางด้านจิตใจ: บางราย อาจสูญเสียแรงจูงใจ หมด passion หมดหวัง รู้สึกหมดหนทาง ที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของ ภาวะซึมเศร้า และอาการนอนไม่หลับได้ หากอาการรุนแรง จะนำไปสู่ โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ฝันร้าย อาจพบมีการใช้สารเสพติด เพื่อจัดการกับอารมณ์ด้วย
  3. ผลต่อการทำงาน: อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด

วิธีแก้ ภาวะหมดไฟ จากการทำงาน Burnout

  • ยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ
  • ยอมรับในความแตกต่าง
  • ไม่ด่วนตัดสินใคร
  • เปิดใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • มองหาที่ปรึกษาที่รับฟัง และให้คำแนะนำได้
  • ร่วมกิจกรรมขององค์กร
  • อย่าทำงานหักโหมเกินไป
  • อย่าเอางานไปทำที่บ้าน
  • ไม่นำปัญหาที่ทำงานสะสม ไปที่บ้าน
  • ลดความกดดันในการทำงาน
  • รู้จักขอความช่วยเหลือ และปฏิเสธอย่างเหมาะสม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง

เป็นอย่างไรกันบ้าง ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน ลองสังเกตตัวเองดูว่า มีภาวะ Burn out อยู่หรือไม่ เพื่อที่จะได้หาวิธีรับมือกัน หวังว่า บทความนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคน เข้าใจภาวะของคนที่หมดไฟ ในการทำงานมากขึ้น หรือถ้าหากเกิดขึ้นตัวท่านเอง ก็ขอให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายเหล่านี้ไปได้โดยเร็ว ขอให้ทุกคนเจองานที่ใช่กันด้วยนะจ๊ะ ✌️
สามารถอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่นี่

109menu.com ศูนย์รวมป้ายโฆษณา หลากหลายประเภท กับการบริการที่หลากหลาย ด้านการตลาด และโฆษณา “บริการครบ จบในที่เดียว” สามารถสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.109menu.com