Customer Segmentation วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ตรง ด้วยวิธีง่ายๆ

อ่านเมื่อ: 2 นาทีที่แล้ว

ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะธุรกิจแบบไหน สิ่งที่เป็นฐานของธุรกิจ คือ ลูกค้า หากไม่มีลูกค้า ก็ไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันกับตลาดอื่นได้ และแต่ละธุรกิจนั้นก็มักจะมีลูกค้าหลากหลายประเภทที่เข้ามาใช้บริการแตกต่างกันไป บทความนี้ 109menu จะพาไปรู้จักกับ Segmentation คือ อะไร? ไปดูพร้อม ๆ กันเลย

รู้จักกับ Segmentation

Segmentation คือ การแบ่งกลุ่มผู้บริโภค ตามลักษณะเฉพาะ เพราะเราไม่สามารถตอบโจทย์ทุกคน ทุกอย่างได้ จึงต้องเลือกว่าลูกค้ากลุ่มไหน ที่เราจะตอบโจทย์เขาได้ดี โดยการทำSegmentation นั้น สามารถแบ่งตามคุณลักษณะ 4 ด้าน ดังนี้

  1. หลักประชากรศาสตร์ (Demographic) หรือข้อมูลพื้นฐานของลูกค้า คือ การจำแนกกลุ่มลูกค้าออกตามช่วงของอายุ เพศ รายได้ การศึกษา และอื่น ๆ
  2. หลักข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ (Geographics) คือ การจำแนกกลุ่มเป้าหมาย จากการแบ่งข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ ลักษณะเขตพื้นที่ ที่อาศัยอยู่ เป็นต้น
  3. หลักจิตวิทยา (Psychological) หรือข้อมูลทางด้านความคิดของกลุ่มเป้าหมาย คือ เป็นการจำแนกลูกค้า ตามความสนใจ หรือพฤติกรรม โดยข้อมูลนี้ ส่วนใหญ่มาจากการสำรวจ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เช่น ความเชื่อ นิสัย สังคมรอบข้าง ความชอบส่วนตัว เป็นต้น
  4. หลักข้อมูลด้านพฤติกรรมลูกค้า (Behavioral) คือ เป็นการจำแนก โดยดูจากการทำความเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า เช่น พฤติกรรมการซื้อ การบริโภค การใช้สินค้า สินค้าที่ซื้อ ซึ่งการใช้ Analytics หลาย ๆ อย่างเป็นต้น

การแบ่งSegmentation มีประโยชน์อย่างไรต่อธุรกิจ

1. ช่วยจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาทำการตลาดได้ วัตถุประสงค์หลักของการแบ่งกลุ่ม คือ เก็บเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ และนำไปใช้ได้จริงกับธุรกิจ การจัดการข้อมูล ที่ไม่สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนา สามารถทำการตลาดออนไลน์ได้อย่างตรงประเด็น และชัดเจนมากยิ่งขึ้น   

2. สามารถพัฒนาต่อยอด ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า การทำการตลาดดิจิทัล ธุรกิจจำเป็นต้อง รู้จักลูกค้า ซึ่งด้วยการแบ่งกลุ่มลูกค้า ข้อมูลผู้ติดต่อที่ชัดเจน นักการตลาด ก็จะสามารถรู้ได้ว่า ลูกค้าคือใคร อยู่ที่ไหน และมีความต้องการอย่างไร โดยข้อมูลเชิงลึกนี้ จะเป็นข้อได้เปรียบในการทำการตลาด ที่จะให้นักธุรกิจ หรือนักการตลาด สามารถวางแผนจัดการกับข้อมูลที่มีนั้น ให้ตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของลูกค้า และสร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้ การสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้า เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ ทำให้ธุรกิจรู้ว่า อะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อความต้องการ และความสนใจของลูกค้า ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ได้มาจากข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ที่รวบรวมจากบนเว็บไซต์ แฟลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย และประวัติการซื้อ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจ สามารถนำมาพัฒนา กำหนดเป้าหมาย สร้างแคมเปญทางการตลาด รวมไปถึงการทำโฆษณา เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น อาจจะใช้วิธีการดึงดูดลูกค้า ด้วยการสื่อสารกับลูกค้า ให้ข้อเสนอที่จูงใจ  นับว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการสร้างความภักดีต่อแบรนด์ และยังสามารถรักษาลูกค้า ในยุคของการทำการตลาดดิจิทัลได้

4. เกิดการสร้าง Mass Customization ผลิตสินค้าจำนวนมาก แต่ยังมอบสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแบบเฉพาะกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ แต่สามารถปรับแต่งให้ตอบโจทย์กับความต้องการ ในแต่ละกลุ่มลูกค้าได้ ซึ่ง Data จากลูกค้า สามารถนำมาประมวลผลในการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการแบบเฉพาะบุคคลได้ดียิ่งขึ้น   

5. การบริหารต้นทุน และการจัดการทรัพยากร การแบ่งส่วนตลาด เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบธุรกิจ ให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด ธุรกิจสามารถระบุกลุ่มลูกค้า ที่มีผลกำไรมากขึ้น และช่วยให้พวกเขาดำเนินการ Micromarketing ที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น ลดต้นทุนในการทำการตลาด เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่คุ้มค่า และเสียทรัพยากรของบริษัทอย่างไม่จำเป็น

6. สร้างฐานลูกค้าจากกลุ่มเฉพาะ (Niche Marketing) เป็นการแบ่งย่อยกลุ่มลูกค้า ที่มีพฤติกรรมการซื้อสินค้า และ บริการ รวมไปถึงความสนใจที่เฉพาะเจาะจง โดยการใช้ข้อมูลตลาด หรือข้อมูลของลูกค้า เพื่อแบ่งส่วนตลาดอย่างเป็นระบบ จะสามารถช่วยให้ธุรกิจค้นพบตลาดเฉพาะกลุ่ม ที่มีศักยภาพด้วยการแปลงลูกค้าอย่างรวดเร็ว และสามารถสร้างฐานลูกค้าสำหรับกลุ่ม Niche ได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้น    

7. ใช้ Data ในการโปรโมตแบรนด์ ตัวอย่างการโปรโมตสินค้า ด้วยการนำข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์หา Segmentation เพื่อนำเสนอสินค้าให้ตรงกับความต้องการ ซึ่งในตัวอย่างนั้น กลุ่มเป้าหมาย จะเป็นผู้ที่ทำงานแบบ Work from Home ความจริงแล้ว การที่แบรนด์เข้าถึง Data ไม่ได้อยู่ที่ว่าแบรนด์คุณมีขนาดใหญ่แค่ไหน แต่การที่แบรนด์สามารถใช้เครื่องมือทางการตลาด (Martech) ได้อย่างตอบโจทย์ เพื่อประมวลผลออกมา และนำไปใช้ในการโปรโมตแบรนด์ สินค้า และบริการได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย คือหัวใจหลักในการทำการตลาด ซึ่งข้อมูลลูกค้า ที่นำมาใช้แบ่งSegmentation อาจเป็นในรูปแบบของ Data Visualization เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น    

8. วัดผล และประเมินประสิทธิภาพงานได้ การได้ข้อมูลแบบ Real time จากหลาย ๆ แพลตฟอร์ม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถรู้ และประเมินการเจาะตลาดของธุรกิจได้ โดยเป็นการแบ่งส่วนตลาด ทำให้กลุ่มลูกค้าที่มีขนาดกว้าง ให้มีขนาดย่อยลงมา ซึ่งทำการตลาดประเภทนี้ ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการบริการลูกค้าอย่างรู้ใจเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจจัดการประสิทธิภาพงานได้มากขึ้น และสามารถช่วยให้คุณ วัดความสำเร็จของโครงการเฉพาะกลุ่ม รวมถึงแคมเปญต่าง ๆ และ วิธีการวางกลยุทธ์ ก็วัดผลได้ง่ายขึ้น   

9. อัปเดตข้อมูลให้ใหม่เสมอ การทำการตลาดแบบดิจิทัล ธุรกิจจะต้องมีความเข้าใจว่า ข้อมูลที่เราได้มานั้น ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ การแบ่งส่วนตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนี้ จะขึ้นอยู่กับความถูกต้อง ลูกค้าที่อัปเดตด้วยข้อมูลใหม่เสมอ  จะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการกับลูกค้าด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ด้วยความที่ปัจจุบันนี้ ลูกค้าจะได้รับสิ่งต่าง ๆ จากสื่อหลากหลายประเภท ซึ่งมีอิทธิพลต่อความชอบ และอาจจะทำให้เกิดมีลำดับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ลูกค้าสนใจได้  ดังนั้น หากธุรกิจมีข้อมูลที่ใหม่ จะช่วยให้สามารถจัดลำดับตัวเลือกให้กับลูกค้าที่เข้าถึง ตรงใจ มากยิ่งขึ้น   

10. การมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย จุดประสงค์ที่สำคัญ ของการแบ่งส่วนตลาด คือ การรู้จักลูกค้าให้ดีขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยข้อมูลที่เป็น ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ จะช่วยให้มุ่งเน้นการทำการตลาดให้ตรงเป้าหมาย และที่สำคัญ ธุรกิจยังเข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น 


เป็นอย่างไรกันบ้างกับSegmentation การเลือกแบ่งส่วนตลาด หรือจัดกลุ่มลูกค้าตามที่เราได้นำมาแชร์ในบทความนี้ จะช่วยให้ธุรกิจมีแนวทางในการทำการตลาดที่ชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเอง สามารถอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่นี่

109menu.com ศูนย์รวมป้ายโฆษณา หลากหลายประเภท กับการบริการที่หลากหลาย ด้านการตลาด และโฆษณา “บริการครบ จบในที่เดียว” สามารถสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.109menu.com


อ้างอิงข้อมูลจาก: stepstraining.co