Five Forces Model ตัวช่วยวิเคราะห์ คู่แข่งทางธุรกิจ คืออะไร?

อ่านเมื่อ: < 1 minute

อยากทำธุรกิจ ต้องวิเคราะห์เรื่องเหล่านี้ให้เป็น ก่อนที่เราจะลงมือ จริงจังกับธุรกิจ นอกเหนือจาก passion ในการผลิตสินค้า หรือบริการ เราควรต้องวิเคราะห์ สภาพแวดล้อม ในการแข่งขันให้เป็นก่อน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก และขาดไม่ได้ โดยเครื่องมือ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เรียกว่า Five Forces Model ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แรงกดดัน ทั้ง 5 ที่มีผลต่อสภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นโดยคุณ Michael E. Porter นักวิชาการด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ที่มีชื่อเสียงชาวอังกฤษ จะมีอะไรบ้าง ไปดูพร้อม ๆ กันเลย

Five Forces Model คือ

เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ สภาวะการแข่งขันทางการตลาดของ Michael E. Porter ซึ่งเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก  โดยเครื่องมือนี้ ถูกนำมาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของตลาด ที่เรากำลังดำเนินธุรกิจอยู่ หรือกำลังจะเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพตลาดที่เราอยู่ ซึ่งไม่จำเป็นว่าธุรกิจที่ทำ จะต้องเป็นขนาดใหญ่เสมอไป เพราะความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจเล็ก ๆ เช่น ร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่น ในตลาด ก็ควรที่จะใช้เครื่องมือนี้ เข้ามาช่วย ในการวิเคราะห์ เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนิธุรกิจ

Five Forces Model สุดยอดเครื่องมือวิเคราะห์ การแข่งขันธุรกิจ มีอะไรบ้าง?

โดยแบ่งปัจจัย ที่จะทำการวิเคราะห์ เป็น 5 ปัจจัย ที่มีแรงกระทำกับธุรกิจโดยตรง มีดังนี้

1. อำนาจต่อรองจากลูกค้า (Bargaining Power of Customers)

ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น ผู้ค้าต้องตระหนักว่า ลูกค้า ก็มีอำนาจการต่อรองเช่นกัน เช่น ต่อรองขอให้ ลด แลก แจก แถม เพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยเฉพาะ หากลูกค้ารายนั้น เป็นลูกค้ารายสำคัญ และซื้อสินค้าในปริมาณมาก หากผู้ค้า ไม่ตอบสนองความต้องการ ลูกค้าก็อาจหนีไปซื้อสินค้ากับคนอื่น จนในที่สุด อาจไม่เหลือลูกค้าเลยก็เป็นได้ แต่หากเรายอมลดราคา รายได้ก็ลดลง หรือหากเพิ่มคุณภาพสินค้า ต้นทุนก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ล้วนส่งผลให้กำไรที่จะได้รับ ลดลงไปทั้งสิ้น ยิ่งธุรกิจ ที่มีความสนใจจากกลุ่มลูกค้าน้อยอยู่แล้ว ยิ่งจะทำให้ลูกค้า มีอำนาจต่อรองมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้น ผู้ประกอบการ อาจจะแก้ไขสถานการณ์ ด้วยการรวมกลุ่ม เพื่อกำหนดราคาขั้นต่ำ หรือแม้กระทั่ง การสร้างคุณค่าในตัวสินค้า เช่น สร้างแบรนด์สินค้าให้แข็งแกร่ง หรือสร้างความแตกต่างนั่นเอง

2. อำนาจต่อรองจากซัพพลายเออร์ (Power of Suppliers)

แรงกดดันจากซัพพลายเออร์ ซึ่งมีหน้าที่ส่งวัตถุดิบ สำหรับการผลิตให้กับเรา สถานการณ์จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ หากซัพพลายเออร์ ที่ผลิตวัตถุดิบชนิดนั้น ๆ มีจำนวนน้อย และการซื้อวัตถุดิบมาในราคาสูง ก็ส่งผลให้ต้นทุนผลิตของเราสูงขึ้น และหากราคาขาย ไม่สามารถขยับขึ้นได้ ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจอยู่ในสภาวะเสี่ยงสูงขึ้น 

ดังนั้น เราควรรวมกลุ่มในธุรกิจ ที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน เพื่อต่อรองกับซัพพลายเออร์ หรืออาจรวมกลุ่มกัน เพื่อซื้อสินค้า ทีละมาก ๆ เพื่อให้ราคาของวัตถุดิบถูกลง

3. การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of New Entrants)

การเข้าสู่ตลาด ของผู้ประกอบการหน้าใหม่ ย่อมแปลว่า มีคู่แข่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาด ที่เราเคยได้รับลดน้อยลงไป ธุรกิจขนาดใหญ่ อาจไม่กังวลมาก เพราะมีกำลังผลิตมาก วัตถุดิบราคาถูก แต่สำหรับกิจการขนาดเล็ก ก็ต้องรับมือให้ดี เราอาจจะสร้างความสัมพันธ์อันดี กับลูกค้าโดยตรง ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ให้กลายมาเป็นฐานลูกค้าที่เหนียวแน่นแทน ส่วนวิธีที่จะป้องกัน การเพิ่มขึ้นของคู่แข่ง อาจทำได้ เช่น การสร้างความแตกต่างของสินค้า สร้างความโดดเด่น จนเลียนแบบได้ยาก

4. การคุกคามจากสินค้าทดแทน (Threat of Substitutes)

แรงกดดันในหัวข้อนี้ ถือว่าเป็นแรงกดดัน ที่มีผลกระทบมากที่สุด อาจไม่ใช่สินค้าประเภทเดียวกัน แต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานคล้ายกัน หรือเหมือนกัน ทำให้เพิ่มทางเลือกแก่ลูกค้า ในการเลือกซื้อสินค้าทดแทน เช่น สมาร์ทโฟน แทนนาฬิกา หรือกล้องดิจิตอล, Airbnb แทนโรงแรม, เครื่องบินแทนรถทัวร์ แม้ว่าสินค้าแต่ละชนิด อาจจะมีบางฟังก์ชั่น ที่ทดแทนกันได้ แต่ก็ไม่ใช้ทั้งหมด 

ดังนั้น ผู้ประกอบการ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพ การปรับปรุง รูปลักษณ์ และสร้างแบรนด์ ให้ติดตลาด เพื่อสร้างความภักดีต่อแบรนด์ ทำให้สินค้ามีเอกลักษณ์ จนน่าซื้อ มากกว่าสินค้าทดแทน

5. การแข่งขันของผู้ที่อยู่ในตลาดเดิม (Industry Rivalry)

การที่มีคู่แข่งในตลาดมาก จะยิ่งลดโอกาส ในการขายสินค้าของบริษัท ดังนั้น เราควรพิจารณาจาก ปัจจัยจำนวนคู่แข่ง ภายในอุตสาหกรรม และอัตราการเติบโต ของอุตสาหกรรม นอกจากนั้น เราก็ควรเตรียมพร้อมให้ดี วางแผนกลยุทธ์ให้รัดกุม หากต้องการเข้าสู่ตลาดนั้น ๆ เพื่อลดความเสี่ยง และเสริมสร้างให้องค์กรแข็งแกร่งต่อไป


เป็นอย่างไรกันบ้าง การวิเคราะห์ Five Forces Model และแนวทางแก้ปัญหาทั่วไป คงทำให้หลาย ๆ คน รู้จักกันมากขึ้นแล้ว เมื่อเกิดอุปสรรคต่าง ๆ ขึ้น การหันมาให้ความร่วมมือกับคู่แข่ง เป็นทางออกที่ใช้อยู่เสมอ ดังเช่น การรวมกลุ่มกันต่อรองกับลูกค้า หรือกับซัพพลายเออร์ ดังนั้น อย่ามองว่าคู่งแข่งทางธุรกิจเป็นศัตรูเสมอไป บางครั้งอาจจะต้องการความร่วมมือซึ่งกันและกันด้วยนั่นเอง
สามารถอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ได้ที่นี่

109menu.com ศูนย์รวมป้ายโฆษณา หลากหลายประเภท กับการบริการที่หลากหลาย ด้านการตลาด และโฆษณา “บริการครบ จบในที่เดียว” สามารถสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่  www.109menu.com


อ้างอิงข้อมูลจาก: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม