Critical Thinking หรือ ทักษะการคิด กลายเป็นทักษะที่ถูกพูดถึง และนำมาโฟกัสในกาารพัฒนาบุคคลในปัจจุบัน ซึ่งทักษะการคิดนั้น ก็มีหลากหลายด้านจนทำให้หลาย ๆ คนอาจจะสับสนว่าอันไหนคืออะไร เราควรจะเรียนหรือพัฒนาอะไรกันบ้าง บทความนี้ 109menu จะพาไปรู้จักกับ Critical Thinking คืออะไร เป็นทักษะการคิด ที่ควรมี เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงาน จะเป็นอย่างไรบ้าง? ไปดูกันเลย
Critical Thinking คืออะไร
Critical Thinking คือ ความสามารถในการคิด แบบมีเหตุมีผล หรือที่เราเรียกว่า มีวิจารณญาณ ในการคิดเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นความเข้าใจในเหตุและผล ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับความคิดในเรื่องต่าง ๆ ฉะนั้น นักคิดเชิงวิพากษ์ จะสามารถวาดภาพ และเชื่อมโยงเรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผล และสามารถเลือกประเมินข้อมูลที่มีประโยชน์ ตัดสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ออกจากกระบวนการความคิด เพื่อแก้ปัญหา หรือแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ นั่นเอง
คนที่มี Critical Thinking สามารถทำอะไรได้บ้าง?
- สามารถเข้าใจความเชื่อมโยง ระหว่างความคิดต่าง ๆ ได้
- สามารถกำหนดความสำคัญ และความเกี่ยวข้องในเหตุผลและความคิดได้
- รับรู้ และสร้าง หรือประเมินเหตุผลต่าง ๆ ได้
- สามารถระบุความไม่สอดคล้อง และข้อผิดพลาด ในการใช้เหตุและผลได้
- แก้ไขปัญหาอย่างสอดคล้อง และเป็นระบบได้
- สามารถอธิบายถึงความเป็นเหตุเป็นผล จากสมมติฐานของตัวเอง ความเชื่อ และคุณค่าต่าง ๆ ได้
ทักษะที่ต้องการสำหรับ Critical Thinking เป็นอย่างไร?
การเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์นั้น จำเป็นต้องมีทักษะ เพื่อที่จะสามารถใช้วิจารณญาณในการคิดได้อย่างแม่นยำ ทั้งการสังเกต การวิเคราะห์ การตีความ การสะท้อนความคิด การประเมินผล การเปรียบเทียบ การอธิบาย การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ประกอบไปด้วย
- การคิดหัวข้อ หรือประเด็นต่าง ๆ ในรูปแบบการตั้งจุดมุ่งหมาย และเป็นเหตุเป็นผล
- ทักษะในการระบุ และแยกแยะประเด็นต่าง ๆ รวมถึงการเชื่อมโยงประเด็นต่าง ๆ
- การประเมินมุมมองต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ความถูกต้องของข้อมูล
- การจดจำในข้อด้อย หรือประเด็นเชิงลบต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในข้อโต้แย้งได้
- ทักษะการตั้งข้อสังเกต ถึงผลเชิงลบต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- ทักษะในการคิดโครงสร้าง แบบเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำมาสนับสนุนข้อโต้แย้งต่าง ๆ
ฝึก Critical Thinking ได้อย่างไร?
หากเราจะเริ่มฝึกทักษะนี้ จะเริ่มอย่างไรดี เป็นทักษะที่ยากเหลือเกิน นึกภาพไม่ออก จะฝึกยังไง วิธีที่ง่ายที่สุด และเห็นผลค่อนข้างดี คือ เริ่มจากการตั้งคำถาม การตั้งคำถาม คือ สิ่งที่ทรงพลังมาก ๆ แต่เราก็ต้องตั้งคำถามให้ครอบคลุมเพื่อให้เราได้คิดสักหน่อย โดยใช้หลัก 5W 1H
- ใคร(WHO) ใครเป็นคนพูด คนทำ ข้อมูลมาจากใคร น่าเชื่อถือไหม
- อะไร(What) เรื่องอะไร เป็นแบบไหน ใจความคืออะไร
- ที่ไหน (Where) เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน ช่องทางไหน แหล่งข้อมูลจากไหน
- เมื่อไหร่ (When) เรื่องหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดตอนไหน ช่วงเวลาไหน
- ทำไม(Why) ทำไมถามหาเหตุผลอีกครั้ง เช่น ทำไมลูกค้าถึงต้องจ้างเรา?
- อย่างไร(How) เราจะแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อเช็คว่า เราเข้าใจ หรือมองปัญหาออกไหม
เมื่อเราตั้งคำถามอย่างมีหลักการแล้ว เราจะมองเห็น ภาพรวมของสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จากนั้น ก็เริ่มย่อยข้อมูลออกมา ให้นึกภาพว่าเราต้องไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อ เราจะเล่าอย่างไร ให้เข้าใจง่ายที่สุด การย่อยข้อมูล จะช่วยให้เราสรุปประเด็นสำคัญ และเช็คสิ่งที่เกิดขึ้นอีกครั้ง
5 ทักษะการคิด ที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง?
1. Systematic Thinking (การคิดเป็นระบบ)
คือ การปรับให้กระบวนการคิด มีลำดับขั้นที่ชัดเจน แบ่งแยกการคิดออกเป็นขั้นตอน และร้อยเรียงกันอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะเป็นการคิดแบบเปะปะ ผสมปนเปจนสับสนและยากจะหาข้อสรุป
เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการให้พนักงานมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบ มีกระบวนการคิดที่สอดคล้องกัน ไปในกระบวนการเดียวกัน ไม่เกิดสถานการณ์ประเภท “สรุปว่าไม่สรุป” มีการมองประเด็นต่าง ๆ อย่างมีหลักการ ขั้นตอน และดำเนินการคิดได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
การใช้งาน: วางแผน, ประชุม, เรียบเรียงความคิด, การสื่อสาร, ตัดสินใจ
2. Analytical Thinking (การคิดวิเคราะห์)
คือ การมีทักษะ ที่จะแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ หารูปแบบ ความเชื่อมโยง การเป็นเหตุเป็นผล เพื่อสามารถนำมาสู่ข้อสรุปสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นว่าดีหรือไม่ การหาสาเหตุของปัญหาต่าง ๆ หรือการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากข้อมูลที่มี
เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการพัฒนาบุคลากร ให้มีความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ให้ลึกขึ้นกว่าเดิม สามารถเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น ดีขึ้น เพื่อนำไปสู่การหาวิธีการแก้ปัญหาต่อไป
การใช้งาน: การวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์, การแก้ปัญหา
3. Creative Thinking (การคิดสร้างสรรค์)
คือ การคิด เพื่อหาทางเลือกใหม่ ความเป็นไปได้ใหม่ หรือการพัฒนาปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น โดยการคิดแบบ Creative Thinking นั้น มักจะถูกพูดถึงว่า จำเป็นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ๆ ตลอดจนการแก้ปัญหา ด้วยแนวทางที่ต่างไปจากเดิม ซึ่งจะถูกโยงไปเรื่องของการสร้างนวัตกรรม ช่วง Ideation ใน Design Thinking
เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการหาวิธีการแก้ปัญหา การดำเนินการต่าง ๆ ที่ต่างไปจากเดิม ต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจ การตลาด การบริการ เป็นต้น
การใช้งาน: การพัฒนานวัตกรรม, การแก้ปัญหา, การหาไอเดียใหม่ ๆ
4. Critical Thinking (การคิดเชิงวิพากษ์)
คือ การคิด เพื่ออย่างมีหลักการ เป็นเหตุเป็นผล สร้างสมมติฐาน และหาข้อสรุป อย่างมีหลักที่ชัดเจน ถูกต้อง ถี่ถ้วน สามารถเชื่อมโยง และเห็นเป็นตรรกะได้ เช่นเดียวกับทำให้การโต้แย้งต่าง ๆ นั้นมีหลักการ ไม่ใช่การโต้แย้ง โดยไร้เหตุผล ไม่สามารถเข้าใจได้
เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการให้พนักงาน สามารถวิเคราะห์ประเด็น และสถานการณ์ได้อย่างมีเหตุมีผล สามารถวิพากษ์ นำเสนอไอเดียได้อย่างมีหลักการ น่าเชื่อถือ มีการพูดคุย และสื่อสารภายในองค์กรด้วยเหตุและผล
การใช้งาน: การวิเคราะห์, การนำเสนอ, การวิพาษ์วิจารณ์, การตัดสินใจ
5. Strategic Thinking (การคิดเชิงกลยุทธ์)
คือ การคิดเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีหลักการ เป็นขั้นเป็นตอน เชื่อมโยงกัน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา หรือบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพ การคิดแบบกลยุทธ์นั้น มีอยู่หลายรูปแบบ แต่อยู่กับแกนสำคัญ คือ การเข้าใจปัญหา และกระบวนการในการแก้ปัญหานั้น ๆ
เหมาะสำหรับ: องค์กรที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา และรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ของพนักงาน เช่น ปัญหาทางด้านการตลาด การเอาชนะคู่แข่ง หรือการวางแผนกลยุทธ์ที่จำเป็น ในการดำเนินธุรกิจ
การใช้งาน: การวางแผน, การตัดสินใจ, การแก้ปัญหา
ทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking ที่สำคัญที่สุดนั้น ก็คือ ความสามารถในการมองเห็นเหตุการณ์หรือคาดเดาสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆที่ส่งผลกระทบในการทำงาน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว และทั้งหมดก็เป็นวิธีการฝึกฝนตัวเองเพื่อการมีทักษะสำคัญในการทำงานยุคนี้ 👍🏻
109menu.com ศูนย์รวมป้ายโฆษณา หลากหลายประเภท กับการบริการที่หลากหลาย ด้านการตลาด และโฆษณา “บริการครบ จบในที่เดียว” สามารถสอบถาม และสั่งซื้อได้ที่ www.109menu.com
อ้างอิงข้อมูลจาก: popticles.com, dots.academy