160123-Content-รู้จักกับ-ทฤษฎีสี-01

รู้จักกับ ทฤษฎีสี (Color Theory) สิ่งที่นักออกแบบต้องรู้ มีอะไรบ้าง?

อ่านเมื่อ: 2 นาทีที่แล้ว

ทฤษฎีสี เป็นเรื่องสำคัญที่นักออกแบบ ต้องคำนึงถึง การรู้เรื่องเกี่ยวกับสีเบื้องต้น จะช่วยในการออกแบบ ช่วยให้งานที่เราสร้างสรรค์ออกมา ให้มีความโดดเด่น ในบทความนี้ เราจะพาไปรู้จักกับ ทฤษฎีสี เพื่อให้คุณนำไปใช้ในงานออกแบบได้อย่างมือโปร จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

ประเภทของสี มีอะไรบ้าง?

สี สามารถแยกเป็น 2 ประเภท คือ สีธรรมชาติ และสีที่มนุษย์สร้างขึ้น

  • สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล เป็นต้น
  • สีที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่ เป็นต้น

ทฤษฎีสี(Theory of Color) คืออะไร?

ทฤษฎีของแม่สี ที่เป็นต้นกำเนิด ของการผสมสี เพื่อให้เกิดเป็นสี เพื่อนำไปใช้สร้างงานศิลปะ งานออกแบบแขนงต่าง ๆ โดยสีตั้งต้น คือ “แม่สี” ประกอบด้วย 3 สี คือ สีแดง (Red, R) สีเหลือง (Yellow, Y) สีน้ำเงิน (Blue, B)

160123-Content-รู้จักกับ-ทฤษฎีสี02

การผสมแม่สีแต่ละสีให้เข้ากัน จะทำให้เกิดเป็น วงล้อสี (Color Wheels) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้รวมสีเข้าด้วยกัน เป็นตัวช่วยในการเลือกสี เช่น การเลือกคู่สีตรงข้าม เลือกสีที่มีความกลมกลืนกัน เลือกสีที่คล้ายคลึงกัน ช่วยหาโทนสีที่เข้ากัน ทำให้การเลือกสีงานออกแบบต่าง ๆ ง่ายขึ้น โดยในวงล้อสี สามารถแยกได้เป็น สีโทนร้อน และสีโทนเย็น

  • สีโทนร้อน คือ สีที่ประกอบด้วย สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง เป็นสีวรรณะร้อน ให้ความรู้สึกตื่นตา มีพลัง อบอุ่น สนุกสนาน และดึงดูดความสนใจได้ดี
  • สีโทนเย็น คือ สีที่ประกอบด้วย สีเขียว สีเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน และสีม่วงน้ำเงิน เป็นสีวรรณะเย็น ให้ความรู้สึกสุภาพ สงบ ลึกลับ เยือกเย็น

ทฤษฎีการใช้วงล้อสี ในงานออกแบบ

การเลือกใช้สีอย่างมีหลักการ โดยการนำสีจากลำดับขั้นทั้งหมดมาเรียงเป็นวงกลมต่อกันเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในแต่ละสี ที่เรียกว่า วงล้อสี (Color Wheel) จากนั้นค่อยดึงสีออกมาใช้ในแต่ละแบบ เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาต่างกัน ดังนี้

  • การใช้สีเดียว (Monochromatic)

เป็นการเลือกสีใดสีหนึ่งจากวงล้อสี โดยใช้ร่วมกันกับสีขาว-ดำ เมื่อตัวสีหลักจะมีเพียงสีเดียว จะควบคุมงานของเราได้ง่ายขึ้น และการนำสีขาว-ดำเข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้งานดูน่าสนใจ เพราะเป็นสีกลางที่เข้าได้กับทุกสี และสามารถสร้างมิติให้กับสี เพิ่มความเข้ม (Shade) ความอ่อน (Tine) ความสด และความซีด (Tone) ทำให้งานไปในทางเดียวกัน และมีสมดุลมากขึ้นด้วย

การใช้สีวรรณะเดียวในงานออกแบบ จะทำให้ตัวงานมีสีไปในทางเดียวกัน เข้ากัน และมีอิทธิพลในการสื่อสารที่ชัดเจนด้วย

การใช้สีต่างวรรณะในการออกแบบ คือ การใช้สีโทนร้อน และเย็น จากวงล้อสี ในงานเดียวกัน โดยใช้ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน เพื่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดดเด่นออกมา อัตราส่วนมาตราฐาน คือ 80:20 (โทนเย็น 80 : โทนร้อน 20 หรือ โทนเย็น 20 : โทนร้อน 80) หรือใช้สีในอัตราส่วนอื่น ๆ เช่น 90:10 หรือ 70:30 จะทำให้การนำเสนอ ถ่ายทอดออกมาในอารมณ์ที่ต่างกัน แต่ไม่ควรใช้ในสัดส่วนที่เท่ากัน 50:50 เพราะจะทำให้งานออกมาแบน ไม่โดดเด่น

  • การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary)

การใช้สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี จะทำให้เกิดการตัดกันของสีอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความขัดแย้ง ทำให้งานโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด สีคู่ตรงข้ามในวงล้อสีมีทั้งหมด 6 คู่ ดังนี้

  • สีหลือง – สีม่วง
  • สีแดง – สีเขียว
  • สีม่วง – สีส้ม
  • สีเขียวเหลือง – สีม่วงแดง
  • สีส้มเหลือง – สีม่วงน้ำเงิน
  • สีส้มแดง – สีเขียวน้ำเงิน

การใช้สีคู่ตรงข้าม จึงควรใช้ในอัตราส่วน 80:20 เพื่อให้โดดเด่นเพียงสีเดียว และถ้าหากมีจุดที่ใกล้กันเกินไป ให้ใช้ สีขาว-ดำ เข้ามาช่วย รวมถึงใช้สีคู่ตรงข้ามผสมกัน เพื่อทำให้งานมีมิติ สมดุลมากยิ่งขึ้น


เป็นอย่างไรกันบ้างกับ ความรู้เรื่องทฤษฎีสี ที่เรานำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ ในการนำไปออกแบบ หรือปรับใช้ ให้เข้ากับสไตล์ของร้านอาหารคุณ บทความหน้า จะมีอะไรดี ๆ มาฝากอีกนั้น อย่าลืมติดตามกัน เหมือนเดิมนะจ๊ะ

บทความดี ๆ ที่น่าสนใจ :

สำหรับใคร ที่กำลังเปิดร้านอาหาร แต่ยังขาดอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ป้ายหน้าร้าน เมนูอาหาร ป้าย OPEN-CLOSE สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า ป้ายสแตนดี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ อย่าง โต๊ะชงชิม ตู้หมุนเมนูอาหาร หากสนใจ สามารถสอบถาม และสั่งซื้อสินค้า ได้ที่ www.109menu.com รับรอง สินค้ามีคุณภาพ มีมาตรฐาน ถูกใจคุณอย่างแน่นอน

อ้างอิงข้อมูลจาก: arthouseschool.com, jalearnmedia.com